Skip to content
สำนักงานเกษตรอำเภอยะหา

สำนักงานเกษตรอำเภอยะหา

กรมส่งเเสริมการเกษตร

  • หน้าหลัก
  • เกี่ยวกับหน่วยงาน
  • บุคลากร
  • เอกสารวิชาการ
    • งานด้านอารักขาพืช
    • งานด้านส่งเสริมและพัฒนาการผลิต
    • งานด้านส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร
    • งานด้านยุทธศาสตร์และสารสนเทศ
  • ข่าวประชาสัมพันธ์
    • ข่าวการจัดซื้อจัดจ้าง
    • ประกาศผู้ชนะการจัดซื้อจัดจ้างรายไตรมาส
  • เอกสารเผยแพร่
  • ติดต่อเรา
  • Toggle search form

ระวังโรคตายพรายระบาดในกล้วย

Posted on June 22, 2025 By Abdulyalyl Burapa

ช่วงฤดูฝน เตือน เกษตรกรเฝ้าระวังโรคตายพรายระบาดในกล้วย ให้สังเกตอาการใบกล้วยด้านนอกเหลืองเหี่ยว หักพับตรงโคนของก้านใบ และทยอยหักพับตั้งแต่ใบรอบนอกเข้าไปสู่ใบด้านใน ต้นกล้วยชะงักการเจริญเติบโตและตายในที่สุด แนะไม่นำหน่อพันธุ์จากกอที่เป็นโรคไปปลูกหรือขยาย หากไม่แน่ใจให้ชุบหน่อพันธุ์ด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช พร้อมหมั่นตรวจแปลง หากพบกล้วยแสดงอาการของโรคให้ขุดไปทำลายนอกแปลง
เกษตรกรผู้ปลูกกล้วยเฝ้าระวัง โรคตายพราย หรือ โรคปานามา สาเหตุจากเชื้อรา Fusarium oxysporum f.sp. cubense พบโรคได้ทุกระยะการเจริญเติบโตของกล้วย โดยให้สังเกตลักษณะต้นกล้วยที่มีอาการของโรคตายพรายใบกล้วยที่อยู่รอบนอกหรือใบแก่แสดงอาการเหี่ยวเหลือง ใบจะเหลืองจากขอบใบและลุกลามเข้ากลางใบ ก้านใบหักพับตรงรอยต่อกับลำต้นเทียม และจะทยอยหักพับตั้งแต่ใบที่อยู่รอบนอกเข้าไปสู่ใบด้านใน ระยะแรกใบยอดยังเขียวตั้งตรง จากนั้นเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ต่อมาใบทั้งหมดจะเหี่ยวแห้ง เมื่อตัดลำต้นเทียมตามขวางหรือตามยาว จะพบเนื้อเยื่อภายในลำต้นเทียมเน่าเป็นสีน้ำตาลตามทางยาวของลำต้นเทียม เนื้อเยื่อในเหง้าเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ต้นกล้วยชะงักการเจริญเติบโตและตายในที่สุด

Read More “ระวังโรคตายพรายระบาดในกล้วย” »

งานอารักขาพืช

ระวังหนอนเจาะเมล็ดทุเรียน

Posted on June 22, 2025June 22, 2025 By Abdulyalyl Burapa

หนอนชนิดนี้เมื่อเข้าทำลายผลทุเรียนจะไม่สามารถสังเกตจากภายนอกได้ หนอนที่เจาะเข้าไปในผลทุเรียนถ่ายมูลออกมาปะปนอยู่กับเนื้อทุเรียนทำให้เนื้อทุเรียนเสียคุณภาพ เกษตรกรไม่สามารถขายเนื้อทุเรียนสดได้ ต้องนำไปแปรรูปซึ่งราคาต่ำทำให้สูญเสียรายได้ไปมาก จนกระทั่งเมื่อหนอนโตเต็มที่พร้อมเข้าดักแด้ จะเจาะเปลือกเป็นรูออกมาและทิ้งตัวลงบนพื้นดินเพื่อเข้าดักแด้ในดิน เกษตรกรเห็นแต่รูไม่พบตัวหนอนอยู่ภายในหรือบางครั้งพบความเสียหายเมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตเรียบร้อยแล้ว หลังจากหนอนเจาะออกมา จึงเรียกหนอนชนิดนี้อีกชื่อว่า “หนอนรู”ตัวเต็มวัยวางไข่เป็นฟองเดี่ยวบนผลทุเรียนช่วงที่ผลยังอ่อน จากนั้นตัวหนอนที่เพิ่งฟักจากไข่จะเจาะเข้าไปกัดกินเมล็ดภายในผล การเข้าทำลายจะสังเกตรอยเจาะของหนอนได้ยากเนื่องจากมีขนาดเล็กมากและเปลือกทุเรียนที่กำลังขยายจะปิดรูเจาะของหนอน ทุเรียนที่ถูกทำลายส่วนใหญ่อยู่ในระยะที่เมล็ดแข็งแล้ว การทำลายของหนอนเจาะเมล็ดทุเรียนจะเจาะเข้าไปในเมล็ด กัดกินและถ่ายมูลออกมาทำให้เนื้อทุเรียนเปรอะเปื้อนเสียหาย หนอนอาศัยอยู่ในผลทุเรียนจนกระทั่งผลแก่ เมื่อหนอนโตเต็มที่หรือถ้าผลร่วงก่อนหนอนจะเจาะรูกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5-8 มิลลิเมตร ออกมา และเข้าดักแด้ในดิน

Read More “ระวังหนอนเจาะเมล็ดทุเรียน” »

งานอารักขาพืช

ระวัง หนอนเจาะผล ในทุเรียน

Posted on June 22, 2025June 22, 2025 By Abdulyalyl Burapa

สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศร้อน มีฝนตก และฝนตกหนักบางพื้นที่ เตือนผู้ปลูกทุเรียน ในระยะ พัฒนาผล – เก็บเกี่ยว รับมือหนอนเจาะผล เข้าทำลายทุเรียนตั้งแต่ผลเล็ก อายุประมาณ 2 เดือน จนถึงผลใหญ่ทำให้ผลเป็นแผล อาจเป็นผลให้ผลเน่าและร่วงเนื่องจากเชื้อราเข้าทำลายซ้ำ การที่ผลมีรอยแมลงทำลายทำให้ขายไม่ได้ราคา ถ้าหากหนอนเจาะกินเข้าไปจนถึงเนื้อผล ทำให้บริเวณดังกล่าวเน่าเมื่อผลสุก ภายนอกผลทุเรียนจะสังเกตเห็นมูลและรังของหนอนได้อย่างชัดเจน และจะมีน้ำไหลเยิ้มเมื่อทุเรียนใกล้แก่ ผลทุเรียนที่อยู่ชิดติดกันหนอนจะเข้าทำลายมากกว่าผลที่อยู่เดี่ยว ๆ เพราะแม่ผีเสื้อชอบวางไข่บริเวณรอยสัมผัสนี้

Read More “ระวัง หนอนเจาะผล ในทุเรียน” »

งานอารักขาพืช

แมลงศัตรูถั่วฝักยาว

Posted on March 7, 2025March 7, 2025 By Abdulyalyl Burapa

แนะให้เกษตรกรผู้ปลูกถั่วฝักยาวเฝ้าระวังการระบาดของเพลี้ยอ่อน และหนอนเจาะฝักลายจุด โดยจะพบการเข้าทำลายในระยะที่ต้นถั่วออกดอกและติดฝัก

Read More “แมลงศัตรูถั่วฝักยาว” »

งานอารักขาพืช

ระวัง แมลงค่อมทอง ในพืชตระกูลส้ม (เช่น มะนาว มะกรูด ส้มโอ และส้มเขียวหวาน)

Posted on March 7, 2025 By Abdulyalyl Burapa

สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศร้อนชื้น เตือนผู้ปลูกพืชตระกูลส้ม (เช่น มะนาว มะกรูด ส้มโอ และส้มเขียวหวาน) ในระยะ แตกใบอ่อน รับมือแมลงค่อมทอง กัดกินใบอ่อนและยอดอ่อนหากทำลายมากจะกินใบอ่อนจนเหลือแต่ก้านใบ

Read More “ระวัง แมลงค่อมทอง ในพืชตระกูลส้ม (เช่น มะนาว มะกรูด ส้มโอ และส้มเขียวหวาน)” »

งานอารักขาพืช

ระวัง โรคใบหงิกเหลืองพริก (เชื้อไวรัส Pepper yellow leaf curl virus: PeYLCV) ในพริก

Posted on February 10, 2025March 7, 2025 By Abdulyalyl Burapa

สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศเย็นกับมีหมอก ในตอนเช้า เตือนผู้ปลูกพริก ในระยะ ทุกระยะการเจริญเติบโต รับมือโรคใบหงิกเหลืองพริก (เชื้อไวรัส Pepper yellow leaf curl virus: PeYLCV) พบอาการใบหงิกเหลืองหรือขาวซีด ใบโค้งงอ หงิกย่น บิดเบี้ยว ยอดเป็นกระจุก อาจพบอาการเส้นใบย่อยมีสีเหลืองและสานเป็นร่างแหบริเวณเนื้อใบร่วมด้วย ต้นแคระแกร็น ผลพริกด่าง บิดเบี้ยว และมีขนาดเล็กผิดปกติ

Read More “ระวัง โรคใบหงิกเหลืองพริก (เชื้อไวรัส Pepper yellow leaf curl virus: PeYLCV) ในพริก” »

งานอารักขาพืช

ชีวภัณฑ์บีเอส ดีโอเอ-19W6 ปักหมุดโรคกุ้งแห้งพริกสำเร็จ เกษตรกรผลิตขยายเองได้ในนมกล่อง

Posted on December 17, 2024March 1, 2025 By Abdulyalyl Burapa

กรมวิชาการเกษตรขยายผลต่อยอดเทคโนโลยีผลิตชีวภัณฑ์บีเอส ดีโอเอ-19W6 สยบโรคกุ้งแห้งพริกสำเร็จ ชูจุดเด่นชีวภัณฑ์ผลิตขยายได้ง่ายในนมกล่อง ต้นทุนต่ำเพียงไร่ละ 600 บาท ลดการระบาดโรคได้กว่า 60 เปอร์เซ็นต์ เกษตรกรเฮเก็บผลผลิตได้เพิ่มมากกว่า 5 รุ่น

Read More “ชีวภัณฑ์บีเอส ดีโอเอ-19W6 ปักหมุดโรคกุ้งแห้งพริกสำเร็จ เกษตรกรผลิตขยายเองได้ในนมกล่อง” »

งานอารักขาพืช

ระวังโรคตายพราย หรือ โรคปานามาที่เกิดจากเชื้อรา Fusarium สายพันธุ์ TR 4 ในกล้วยหอม

Posted on November 13, 2024November 13, 2024 By Abdulyalyl Burapa
ระวังโรคตายพราย หรือ โรคปานามาที่เกิดจากเชื้อรา Fusarium สายพันธุ์ TR 4 ในกล้วยหอม

เตือนเกษตรกรปลูกกล้วยหอม เฝ้าระวังโรคตายพราย หรือ โรคปานามาที่เกิดจากเชื้อรา Fusarium สายพันธุ์ TR 4 ในกล้วยหอม เนื่องจากปัจจุบันมีฝนตกอย่างต่อเนื่อง

Read More “ระวังโรคตายพราย หรือ โรคปานามาที่เกิดจากเชื้อรา Fusarium สายพันธุ์ TR 4 ในกล้วยหอม” »

งานอารักขาพืช

เกษตรยะหา ติดตามแปลงปลูกกล้วยหิน

Posted on October 10, 2024 By กามีละห์ หะมะ
เกษตรยะหา ติดตามแปลงปลูกกล้วยหิน

วันที่ 10 ตุลาคม 2567 นายอับดุลญาลีล บูระพา เกษตรอำเภอยะหา มอบหมายให้เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอยะหา ติดตามแปลงปลูกกล้วยหินของนางอาไอเสาะ มามะ เกษตรกรหมู่ที่ 2 ตำบลบาโร๊ะ อำเภอยะหา จังหวัดยะลา พร้อมมอบปัจจัยการผลิต ทั้งนี้ได้แนะนำเกษตรกรเรื่องการป้องกันกำจัดโรคเหี่ยวในกล้วยหิน เน้นย้ำในเรื่องการใช้สารชีวภัณฑ์ Bs และไตรโคเดอร์มา อย่างต่อเนื่อง หมั่นตัดแต่งทางใบ และแนะนำเรื่องการใส่ปุ๋ยเคมี และปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อบำรุงต้น สร้างความสมบูรณ์ของต้นกล้วย

งานอารักขาพืช

การจัดการพืชเพื่อรับมือกับสภาพน้ำท่วมขัง

Posted on October 1, 2024October 1, 2024 By กามีละห์ หะมะ
การจัดการพืชเพื่อรับมือกับสภาพน้ำท่วมขัง

ชวนอ่านเรื่องราวของ “การจัดการพืชเพื่อรับมือกับสภาพน้ำท่วมขัง” ตั้งแต่ ก่อนน้ำท่วมขัง ขณะน้ำท่วมขัง หลังน้ำลด จะมีการบริหารจัดการอย่างไรบ้าง ที่มา : ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสงขลา

งานอารักขาพืช

Posts navigation

1 2 3 Next

`ค้นหาข้อมูลภายในเว็บไซต์

July 2025
M T W T F S S
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031  
« Jun    

สำนักงานเกษตรอำเภอยะหา 7 ถนนเสนานุรักษ์ ต.ยะหา อ.ยะหา จ.ยะลา 95120 โทรศัพท์ 0 7329 1185 E-mail : yaha@doae.go.th Website : https://yala.doae.go.th/yaha Facebook : สนง.เกษตรอำเภอยะหา จังหวัดยะลา

Webmaster: Abdulyalyl Burapa (Chief of Yaha District Agricultural Extension Office) and Mrs. Kamilah Hama (Agricultural Extensionist)

Copyright © 2025 สำนักงานเกษตรอำเภอยะหา.

Powered by PressBook WordPress theme