Skip to content
สำนักงานเกษตรอำเภอยะหา

สำนักงานเกษตรอำเภอยะหา

กรมส่งเเสริมการเกษตร

  • หน้าหลัก
  • เกี่ยวกับหน่วยงาน
  • บุคลากร
  • เอกสารวิชาการ
    • งานด้านอารักขาพืช
    • งานด้านส่งเสริมและพัฒนาการผลิต
    • งานด้านส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร
    • งานด้านยุทธศาสตร์และสารสนเทศ
  • ข่าวประชาสัมพันธ์
    • ข่าวการจัดซื้อจัดจ้าง
    • ประกาศผู้ชนะการจัดซื้อจัดจ้างรายไตรมาส
  • เอกสารเผยแพร่
  • ติดต่อเรา
  • Toggle search form

ระวังโรคตายพรายระบาดในกล้วย

Posted on June 22, 2025 By Abdulyalyl Burapa

ช่วงฤดูฝน เตือน เกษตรกรเฝ้าระวังโรคตายพรายระบาดในกล้วย ให้สังเกตอาการใบกล้วยด้านนอกเหลืองเหี่ยว หักพับตรงโคนของก้านใบ และทยอยหักพับตั้งแต่ใบรอบนอกเข้าไปสู่ใบด้านใน ต้นกล้วยชะงักการเจริญเติบโตและตายในที่สุด แนะไม่นำหน่อพันธุ์จากกอที่เป็นโรคไปปลูกหรือขยาย หากไม่แน่ใจให้ชุบหน่อพันธุ์ด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช พร้อมหมั่นตรวจแปลง หากพบกล้วยแสดงอาการของโรคให้ขุดไปทำลายนอกแปลง
เกษตรกรผู้ปลูกกล้วยเฝ้าระวัง โรคตายพราย หรือ โรคปานามา สาเหตุจากเชื้อรา Fusarium oxysporum f.sp. cubense พบโรคได้ทุกระยะการเจริญเติบโตของกล้วย โดยให้สังเกตลักษณะต้นกล้วยที่มีอาการของโรคตายพรายใบกล้วยที่อยู่รอบนอกหรือใบแก่แสดงอาการเหี่ยวเหลือง ใบจะเหลืองจากขอบใบและลุกลามเข้ากลางใบ ก้านใบหักพับตรงรอยต่อกับลำต้นเทียม และจะทยอยหักพับตั้งแต่ใบที่อยู่รอบนอกเข้าไปสู่ใบด้านใน ระยะแรกใบยอดยังเขียวตั้งตรง จากนั้นเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ต่อมาใบทั้งหมดจะเหี่ยวแห้ง เมื่อตัดลำต้นเทียมตามขวางหรือตามยาว จะพบเนื้อเยื่อภายในลำต้นเทียมเน่าเป็นสีน้ำตาลตามทางยาวของลำต้นเทียม เนื้อเยื่อในเหง้าเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ต้นกล้วยชะงักการเจริญเติบโตและตายในที่สุด

Read More “ระวังโรคตายพรายระบาดในกล้วย” »

งานอารักขาพืช

ระวังหนอนเจาะเมล็ดทุเรียน

Posted on June 22, 2025June 22, 2025 By Abdulyalyl Burapa

หนอนชนิดนี้เมื่อเข้าทำลายผลทุเรียนจะไม่สามารถสังเกตจากภายนอกได้ หนอนที่เจาะเข้าไปในผลทุเรียนถ่ายมูลออกมาปะปนอยู่กับเนื้อทุเรียนทำให้เนื้อทุเรียนเสียคุณภาพ เกษตรกรไม่สามารถขายเนื้อทุเรียนสดได้ ต้องนำไปแปรรูปซึ่งราคาต่ำทำให้สูญเสียรายได้ไปมาก จนกระทั่งเมื่อหนอนโตเต็มที่พร้อมเข้าดักแด้ จะเจาะเปลือกเป็นรูออกมาและทิ้งตัวลงบนพื้นดินเพื่อเข้าดักแด้ในดิน เกษตรกรเห็นแต่รูไม่พบตัวหนอนอยู่ภายในหรือบางครั้งพบความเสียหายเมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตเรียบร้อยแล้ว หลังจากหนอนเจาะออกมา จึงเรียกหนอนชนิดนี้อีกชื่อว่า “หนอนรู”ตัวเต็มวัยวางไข่เป็นฟองเดี่ยวบนผลทุเรียนช่วงที่ผลยังอ่อน จากนั้นตัวหนอนที่เพิ่งฟักจากไข่จะเจาะเข้าไปกัดกินเมล็ดภายในผล การเข้าทำลายจะสังเกตรอยเจาะของหนอนได้ยากเนื่องจากมีขนาดเล็กมากและเปลือกทุเรียนที่กำลังขยายจะปิดรูเจาะของหนอน ทุเรียนที่ถูกทำลายส่วนใหญ่อยู่ในระยะที่เมล็ดแข็งแล้ว การทำลายของหนอนเจาะเมล็ดทุเรียนจะเจาะเข้าไปในเมล็ด กัดกินและถ่ายมูลออกมาทำให้เนื้อทุเรียนเปรอะเปื้อนเสียหาย หนอนอาศัยอยู่ในผลทุเรียนจนกระทั่งผลแก่ เมื่อหนอนโตเต็มที่หรือถ้าผลร่วงก่อนหนอนจะเจาะรูกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5-8 มิลลิเมตร ออกมา และเข้าดักแด้ในดิน

Read More “ระวังหนอนเจาะเมล็ดทุเรียน” »

งานอารักขาพืช

ระวัง หนอนเจาะผล ในทุเรียน

Posted on June 22, 2025June 22, 2025 By Abdulyalyl Burapa

สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศร้อน มีฝนตก และฝนตกหนักบางพื้นที่ เตือนผู้ปลูกทุเรียน ในระยะ พัฒนาผล – เก็บเกี่ยว รับมือหนอนเจาะผล เข้าทำลายทุเรียนตั้งแต่ผลเล็ก อายุประมาณ 2 เดือน จนถึงผลใหญ่ทำให้ผลเป็นแผล อาจเป็นผลให้ผลเน่าและร่วงเนื่องจากเชื้อราเข้าทำลายซ้ำ การที่ผลมีรอยแมลงทำลายทำให้ขายไม่ได้ราคา ถ้าหากหนอนเจาะกินเข้าไปจนถึงเนื้อผล ทำให้บริเวณดังกล่าวเน่าเมื่อผลสุก ภายนอกผลทุเรียนจะสังเกตเห็นมูลและรังของหนอนได้อย่างชัดเจน และจะมีน้ำไหลเยิ้มเมื่อทุเรียนใกล้แก่ ผลทุเรียนที่อยู่ชิดติดกันหนอนจะเข้าทำลายมากกว่าผลที่อยู่เดี่ยว ๆ เพราะแม่ผีเสื้อชอบวางไข่บริเวณรอยสัมผัสนี้

Read More “ระวัง หนอนเจาะผล ในทุเรียน” »

งานอารักขาพืช

`ค้นหาข้อมูลภายในเว็บไซต์

June 2025
M T W T F S S
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30  
« May    

สำนักงานเกษตรอำเภอยะหา 7 ถนนเสนานุรักษ์ ต.ยะหา อ.ยะหา จ.ยะลา 95120 โทรศัพท์ 0 7329 1185 E-mail : yaha@doae.go.th Website : https://yala.doae.go.th/yaha Facebook : สนง.เกษตรอำเภอยะหา จังหวัดยะลา

Webmaster: Abdulyalyl Burapa (Chief of Yaha District Agricultural Extension Office) and Mrs. Kamilah Hama (Agricultural Extensionist)

Copyright © 2025 สำนักงานเกษตรอำเภอยะหา.

Powered by PressBook WordPress theme