Skip to content
สำนักงานเกษตรอำเภอยะหา

สำนักงานเกษตรอำเภอยะหา

กรมส่งเเสริมการเกษตร

  • หน้าหลัก
  • เกี่ยวกับหน่วยงาน
  • บุคลากร
  • เอกสารวิชาการ
    • งานด้านอารักขาพืช
    • งานด้านส่งเสริมและพัฒนาการผลิต
    • งานด้านส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร
    • งานด้านยุทธศาสตร์และสารสนเทศ
  • ข่าวประชาสัมพันธ์
    • ข่าวการจัดซื้อจัดจ้าง
    • ประกาศผู้ชนะการจัดซื้อจัดจ้างรายไตรมาส
  • เอกสารเผยแพร่
  • ติดต่อเรา
  • Toggle search form

ระวังหนอนเจาะเมล็ดทุเรียน

Posted on June 22, 2025June 22, 2025 By Abdulyalyl Burapa

หนอนชนิดนี้เมื่อเข้าทำลายผลทุเรียนจะไม่สามารถสังเกตจากภายนอกได้ หนอนที่เจาะเข้าไปในผลทุเรียนถ่ายมูลออกมาปะปนอยู่กับเนื้อทุเรียนทำให้เนื้อทุเรียนเสียคุณภาพ เกษตรกรไม่สามารถขายเนื้อทุเรียนสดได้ ต้องนำไปแปรรูปซึ่งราคาต่ำทำให้สูญเสียรายได้ไปมาก จนกระทั่งเมื่อหนอนโตเต็มที่พร้อมเข้าดักแด้ จะเจาะเปลือกเป็นรูออกมาและทิ้งตัวลงบนพื้นดินเพื่อเข้าดักแด้ในดิน เกษตรกรเห็นแต่รูไม่พบตัวหนอนอยู่ภายในหรือบางครั้งพบความเสียหายเมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตเรียบร้อยแล้ว หลังจากหนอนเจาะออกมา จึงเรียกหนอนชนิดนี้อีกชื่อว่า “หนอนรู”ตัวเต็มวัยวางไข่เป็นฟองเดี่ยวบนผลทุเรียนช่วงที่ผลยังอ่อน จากนั้นตัวหนอนที่เพิ่งฟักจากไข่จะเจาะเข้าไปกัดกินเมล็ดภายในผล การเข้าทำลายจะสังเกตรอยเจาะของหนอนได้ยากเนื่องจากมีขนาดเล็กมากและเปลือกทุเรียนที่กำลังขยายจะปิดรูเจาะของหนอน ทุเรียนที่ถูกทำลายส่วนใหญ่อยู่ในระยะที่เมล็ดแข็งแล้ว การทำลายของหนอนเจาะเมล็ดทุเรียนจะเจาะเข้าไปในเมล็ด กัดกินและถ่ายมูลออกมาทำให้เนื้อทุเรียนเปรอะเปื้อนเสียหาย หนอนอาศัยอยู่ในผลทุเรียนจนกระทั่งผลแก่ เมื่อหนอนโตเต็มที่หรือถ้าผลร่วงก่อนหนอนจะเจาะรูกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5-8 มิลลิเมตร ออกมา และเข้าดักแด้ในดิน

แนวทางป้องกัน

1. เกษตรกรไม่ควรขนย้ายเมล็ดทุเรียนจากที่อื่นเข้ามาในแหล่งปลูก ถ้ามีความจำเป็นควรทำการคัดเลือกเมล็ดอย่างระมัดระวัง หรือแช่เมล็ดทุเรียนด้วยสารฆ่าแมลง เช่น มาลาไทออน 83% อีซี อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คาร์บาริล85% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ ๒๐ ลิตร ก่อนทำการขนย้ายจะช่วยกำจัดหนอนได้

2. การห่อผลระยะยาวโดยใช้ถุงพลาสติกสีขาวขุ่นขนาด 40×75 เซนติเมตร เจาะก้นถุงเพื่อระบายน้ า สามารถป้องกันไม่ให้ตัวเต็มวัยมาวางไข่ได้ โดยเริ่มห่อผลตั้งแต่ผลทุเรียนอายุ 6 สัปดาห์ เป็นต้นไปจนถึงเก็บเกี่ยว ก่อนห่อตรวจสอบผลทุเรียนที่จะห่อให้ปราศจากเพลี้ยแป้ง ถ้ามีให้กำจัดโดยใช้แปรงปัดออก

3. การป้องกันกำจัดด้วยวิธีผสมผสาน โดยการพ่นสารฆ่าแมลง คาร์บาริล 88% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ แลมบ์ดา-ไซฮาโลทริน 2.5% ซีเอส อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ ๒๐ ลิตร ห่างกันครั้งละ ๑ สัปดาห์ เริ่มเมื่อผลอายุ 6 สัปดาห์ และห่อด้วยถุงพลาสติกขาวขุ่น ขนาด 40×75 เซนติเมตร เจาะมุมก้นถุงเพื่อระบายน้ำ เมื่อผลอายุ 10 สัปดาห์ โดยเลือกห่อเฉพาะผลที่มีขนาดและรูปทรงได้มาตรฐาน ก่อนห่อผลควรมีการสำรวจเพลี้ยแป้ง และพ่นสารฆ่าแมลงเมื่อพบเพลี้ยแป้งระบาด

4. การแนะนำใช้ชีวภัณฑ์ในการกำจัดดักแด้ของหนอนเจาะเมล็ดทุเรียนที่อยู่ในดิน ด้วยวิธีการใช้เชื้อราเขียวเมตาไรเซียม หรือเชื้อราบิวเวอร์เรีย ในรูปแบบเชื้อสดอัตรา 400 กรัมต่อไร่ ผสมน้ำฉีดพ่นลงดินรอบทรงพุ่มในช่วงดินมีความชื้นเหมาะสมหรือเมื่อมีการตกของฝนแรกในพื้นที่ปลูก

5. การใช้กับดักแสงไฟ black light เป็นเครื่องมือตรวจการระบาดของผีเสื้อหนอนเจาะเมล็ดทุเรียน เพื่อให้ทราบว่ามีการระบาดในช่วงไหน สามารถช่วยให้การใช้สารฆ่าแมลงมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดจำนวนการพ่นสารฆ่าแมลงจากที่เกษตรกรนิยมปฏิบัติอยู่ที่พ่นตั้งแต่ทุเรียนเริ่มออกดอก

6. การป้องกันกำจัดโดยใช้สารฆ่าแมลง เมื่อพบว่าตัวเต็มวัยเริ่มระบาดให้ใช้สาร คาร์บาริล 85% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 50 กรัมต่อ น้ำ20 ลิตร หรือ เดลทาเมทริน 3% อีซี อัตรา 15 มิลลิลิตรต่อน้ำ20 ลิตร หรือ แลมบ์ดา-ไซฮาโลทริน 2.5% ซีเอส อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อ น้ำ20 ลิตร หรือ เบตา-ไซฟลูทริน 2.5% อีซี อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ ๒๐ ลิตร ห่างกันครั้งละ 1 สัปดาห์ เริ่มเมื่อผลอายุ 6 สัปดาห์

ที่มา: เพจสำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร

งานอารักขาพืช

Post navigation

Previous Post: ระวัง หนอนเจาะผล ในทุเรียน
Next Post: ระวังโรคตายพรายระบาดในกล้วย

`ค้นหาข้อมูลภายในเว็บไซต์

July 2025
M T W T F S S
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031  
« Jun    

สำนักงานเกษตรอำเภอยะหา 7 ถนนเสนานุรักษ์ ต.ยะหา อ.ยะหา จ.ยะลา 95120 โทรศัพท์ 0 7329 1185 E-mail : yaha@doae.go.th Website : https://yala.doae.go.th/yaha Facebook : สนง.เกษตรอำเภอยะหา จังหวัดยะลา

Webmaster: Abdulyalyl Burapa (Chief of Yaha District Agricultural Extension Office) and Mrs. Kamilah Hama (Agricultural Extensionist)

Copyright © 2025 สำนักงานเกษตรอำเภอยะหา.

Powered by PressBook WordPress theme