Skip to content
สำนักงานเกษตรอำเภอยะหา

สำนักงานเกษตรอำเภอยะหา

กรมส่งเเสริมการเกษตร

  • หน้าหลัก
  • เกี่ยวกับหน่วยงาน
  • บุคลากร
  • เอกสารวิชาการ
    • งานด้านอารักขาพืช
    • งานด้านส่งเสริมและพัฒนาการผลิต
    • งานด้านส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร
    • งานด้านยุทธศาสตร์และสารสนเทศ
  • ข่าวประชาสัมพันธ์
    • ข่าวการจัดซื้อจัดจ้าง
    • ประกาศผู้ชนะการจัดซื้อจัดจ้างรายไตรมาส
  • เอกสารเผยแพร่
  • ติดต่อเรา
  • Toggle search form

เทคโนโลยีสยบโรครากเน่าโคนเน่าทุเรียน

Posted on September 29, 2024March 1, 2025 By Abdulyalyl Burapa

โรครากเน่าโคนเน่าของทุเรียนเป็นปัญหาที่สำคัญของเกษตรกร เนื่องจากเป็นโรคที่ร้ายแรงที่สุดในต้นทุเรียน สามารถเข้าทำลายได้ทุกส่วนของต้นทุเรียน ทำให้ต้นทุเรียนที่เป็นโรคนี้เสียหายอย่างรวดเร็วและไม่สามารถเจริญเติบโตได้ตามปกติ ส่งผลให้ทุเรียนยืนต้นตาย ปริมาณและคุณภาพผลผลิตลดลง โดยเฉพาะการผลิตเพื่อการส่งออก ซึ่งการควบคุมโรคนี้ต้องทำความเข้าใจในหลักการควบคุมโรคอย่างถูกวิธี

การป้องกันกำจัดโรครากเน่าโคนเน่าทุเรียนด้วยวิธีผสมผสานที่นำมาปรับใช้ในพื้นที่ปลูกทุเรียนในภาคตะวันออก ประกอบด้วย การวิเคราะห์พื้นที่ ดูการเขตกรรม ตัดแต่งทรงพุ่มไม่ให้แน่นทึบ แดดส่องลงถึงพื้นดินเพื่อฆ่าเชื้อโรค ขุดร่องระบายน้ำไม่ให้ท่วมขังโคนต้น เก็บดินวิเคราะห์ธาตุอาหารเพื่อส่งเสริมให้พืชแข็งแรง กรณีดินเป็นกรดแนะนำปรับด้วยปูนขาว ฟื้นฟูระบบรากกรณีรากเน่าและเน่าคอดิน
โดยการราดด้วยสารฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม ภายหลังการราดสารไม่น้อยกว่า 7 วัน
นำเชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดเชื้อสด อัตรา 100 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร กรดฮิวมิค 100 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร และปุ๋ยเกล็ดสูตร 15-30-15 หรือ 20-20-20 อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ราดให้ทั่วบริเวณรอบทรงพุ่มทุก 2 เดือน รักษาแผลที่โคนต้นต่อเนื่อง

สำหรับต้นที่โทรมกระตุ้นภูมิคุ้มกันด้วยสารฟอสฟอรัส แอซิด และสำรวจโรคต่อเนื่อง เพื่อรักษาได้ทันโรคไม่แพร่กระจายลุกลาม เพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในดิน เพื่อลดปริมาณเชื้อราไฟทอปธอร่า ปรับสภาพแวดล้อมให้ต้นทุเรียนแข็งแรง ซึ่งการวิเคราะห์พื้นที่และปรับสภาพแวดล้อมไม่ให้เหมาะต่อการเกิดโรครากเน่าโคนเน่าเป็นปัจจัยความสำเร็จในการนำเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้ควบคุมโรค ทั้งนี้การป้องกันการเกิดโรคเป็นแนวทางการควบคุมโรครากเน่าโคนเน่าที่ดีที่สุด

ที่มา: เพจสำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร

งานอารักขาพืช

Post navigation

Previous Post: ระวัง แมลงค่อมทอง ในเงาะ
Next Post: การจัดการพืชเพื่อรับมือกับสภาพน้ำท่วมขัง

`ค้นหาข้อมูลภายในเว็บไซต์

July 2025
M T W T F S S
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031  
« Jun    

สำนักงานเกษตรอำเภอยะหา 7 ถนนเสนานุรักษ์ ต.ยะหา อ.ยะหา จ.ยะลา 95120 โทรศัพท์ 0 7329 1185 E-mail : yaha@doae.go.th Website : https://yala.doae.go.th/yaha Facebook : สนง.เกษตรอำเภอยะหา จังหวัดยะลา

Webmaster: Abdulyalyl Burapa (Chief of Yaha District Agricultural Extension Office) and Mrs. Kamilah Hama (Agricultural Extensionist)

Copyright © 2025 สำนักงานเกษตรอำเภอยะหา.

Powered by PressBook WordPress theme